การจ่ายเงินจำนวนเล็กๆน้อยๆ ซึ่งก็คือรูปแบบการชำระเงินโดยวงเงินที่ใช้ชำระค่าสินค้าและบริการมีจำนวนหรือราคา ไม่มากประมาณ 5-100 บาท เท่านั้น เช่น การชำระค่าโหลดโลโก้ (Logo) 10 บาท หรือ การใช้ชำระค่ารับฟังข้อมูล 9 บาท หรือการใช้ชำระค่าบัตรรถไฟฟ้า BTS 20 บาท ก็เป็น Micro Payment เช่นกัน
การที่ธุรกิจต่างๆจะนำ Micro Payment มาใช้ได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีช่องทางการชำระเงินที่สะดวก และน่าเชื่อถือมากกว่าการชำระเงินผ่านบัตร Credit เนื่องจากวิธีการชำระเงินผ่านบัตร Credit นั้นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในแต่ละครั้งที่มีการชำระเงิน จึงทำให้การชำระค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย หรือ Micro Payment ผ่านบัตร Credit นั้น ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นจนไม่เป็นค่าใช้จ่ายที่เล็กน้อยอีกต่อไป
ดังนั้น ธุรกิจออนไลน์ที่ต้องการใช้ระบบ Micro Payment ต้องหาช่องทางอื่นเพื่อให้ลูกค้าชำระเงิน จึงต้องมีบริษัทที่เป็นสื่อกลางในการชำระเงินระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ นั่นก็คือการ Outsourcing[1] เพื่อช่วยลดต้นทุนในการจัดการ (Transaction Cost) ไม่ว่าจะเป็น ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบจัดเก็บข้อมูลของสมาชิก การอำนวยความสะดวกด้านการชำระเงิน เป็นต้น ทำให้ธุรกิจออนไลน์ต่างๆ มีต้นทุนน้อยกว่าการที่ต้องรับภาระตรงส่วนนั้นมาจัดการเอง ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัทที่รับจัดการเกี่ยวกับการชำระค่าใช้จ่ายแบบ Micro Payment ที่หลายคนคุ้นหูกันเป็นอย่างดี เช่น Paypal
บทความนี้นำจาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/299975
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น