ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตั้งค่า profile color sRGB หรือ Adobe RGB ดี สำหรับงาน microstock

หลายคนสงสัยว่า สำหรับงานไมโครสต๊อกนั้น เราควรตั้งค่า profile color เป็นแบบไหนดี ระหว่าง sRGB หรือ Adobe RGB  แล้วถ้าจะตั้งเราจะตั้งตอนไหน ตั้งค่าตั้งแต่ในกล้องเลยหรือไม่ หรือจะมาตั้งตอน export ภาพ หลังจากปรับแต่งภาพในโปรแกรมเรียบร้อยแล้วดี วันนี้เราได้ไปหาคำตอบมาไว้ที่นี่แล้ว


ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า sRGB และ Adobe RGB ต่างกันอย่างไร
sRGB is a small color space, but fairly universal. It can’t contain all of the colors that your camera can capture, which will result in some clipping. As it’s a common color space, it’s a good choice for photos that you’re outputting for screen use (web, slideshow, digital photo frame), and many non-pro digital print labs will expect sRGB files too.

Adobe RGB is a slightly bigger color space, which contains more of the colors that your camera can capture, but still clips some colors. Many pro digital print labs will accept Adobe RGB files. It’s also a good choice for setting on your camera if you choose to shoot JPEG rather than the raw file format, if your camera can’t capture in ProPhoto RGB.



สรุปได้ว่า sRGB มีช่วงสีขนาดเล็กที่สุด เหมาะสำหรับงานที่แสดงผลผ่านจอมอนิเตอร์ แต่ถ้าเป็น Adobe RGB จะมีช่วงสีกว้างกว่า sRGB ส่วนใหญ่ใช้กับพวกสิ่งพิมพ์ต่างๆ การปริ้นรูป การพิมพ์ เหมาะจะใช้ Adobe RGB มากกว่า โดยทั่วไปของการถ่ายภาพ จะตั้ง profile ไหนก็ได้ แล้วแต่การใช้งานของเรา



แล้วกับงานไมโครสต๊อกล่ะ ควรใช้ sRGB หรือ Adobe RGB ดี ??

สำหรับงาน microstock หลังจากที่ผู้เขียนทำการค้นหาข้อมูล จึงพบว่าในการส่งงานสต๊อก จะใช้ color-profile sRGB เป็นส่วนใหญ่ เพราะ sRGB แสดงผลในทุก web browser ได้สีของรูปเหมือนกัน ไม่มีสีเพี้ยน เพราะ ช่วงสีของ sRGB ใกล้เคียงกับการแสดงผลของจอ CRT ที่สุดแล้ว ดังนั้น จากไฟล์รูปและจากหน้าจอจะแสดงผลเป็นสีที่เหมือนกัน และ profile color ที่ไมโครสต๊อกหลายแห่งใช้ ส่วนใหญ่เป็น sRGB ดังนั้น รูปที่จะส่งไมโครสต๊อกจึงควรเป็น sRGB 


บางคนอาจสงสัย ว่าแล้วถ้า Adobe RGB มันได้ช่วงสีกว้างกว่า ทำไมไม่เลือกใช้โปรไฟล์เป็น Adobe RGB ไปซะเลย ....

จากคำถามนี้ มันก็จะกลับไปสู่ คำถามที่ว่ารูปที่คุณเอาไปทำอะไร ถ้าแค่ถ่าย ปรับแต่ง โพสลงเวบไซต์ หรือ gallery ตัวเอง นั่นก็จะได้คำตอบว่า ควรที่จะใช้เป็น sRGB เพราะมั่นใจได้ว่าคนอื่นที่ดูภาพคุณไม่ว่าจะดูจากบราวเซอร์ไหนก็จะเห็นสีสันของรูปเรา ไม่มีว่าเวบนั้นแสดงผลเพืี้ยน 
แต่ถ้าจะถ่ายไปเพื่อ ทำสิ่งพิมพ์ก็ควรใช้ Adobe RGB มากกว่า


แล้วถ้ายังรู้สึกว่าก็มีของดีอยู่อ่ะทำไมไม่ใช้ล่ะ 

เราสามารถตั้ง profile color ของกล้องเป็น Adobe RGB เพื่อให้ไฟล์ที่ได้มีสีสันมากที่สุด แล้วเลือกดูว่า ไฟล์รูปนั้นจะนำไปใช้งานอะไร ถ้าจะทำ microstock เวลาที่เซฟรูปเป็น jpeg ก็เลือกเป็น SRGB 
เพื่อที่เราก็จะได้ภาพที่เป็น sRGB โดยที่ไฟล์ต้นฉบับยังเป็น Adobe RGB อยู่

วิธีปรับแต่งง่ายๆเลย ก็คือ เวลาถ่าย RAW ไฟล์มา เซต profile ของกล้อง ให้เป็น Adobe RGB เวลาถ่ายไฟล์มาก็จะได้เป็น AdobeRGB แล้วเมื่อเอารูปมาปรับแต่งในโปรแกรมแต่งภาพ เช่น Lightroom, Photoshop เรียบร้อยแล้ว เราสามารถตั้งค่า ตอน Export file ให้เป็น แบบ sRGB ได้ (ถ้าเป็น photoshop จะsupport color แบบ Adobe RGB อยู่แล้ว)
1. ถ่ายด้วย adobe RGB หรือ sRGB ก็ได้ตามใจฉัน แต่ adobe RGB จะมี ช่วงสีกว้างกว่า
2. กรณี process ใน LR. ให้ค่าprofile export เป็น sRGB เพื่อส่ง stock
3. ถ้าต้องการนำมาแต่งรูปใน PS. ก็ยังคงใช้profile adobe RGB อยู่ เมื่อทำเสร็จแล้ว ค่อย safe as เป็น jpeg โดยเปลี่ยน ค่า profile เป็น sRGB





ลิ้งค์อ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม
sRGB vs Adobe RGB
ช่วยด้วยมีปัญหาเรื่องสีภาพครับ
Color Profile ของภาพStock
ขอปรึกษาเรื่อง profile สีอีกสักครั้งครับ

ความคิดเห็น

  1. ขอบคุณคร้าบ ได้ความรู้สำหรับมือใหม่มากๆ

    ตอบลบ
  2. ผมสงสัยจอ LED ปัจจุบันแสดงสีได้ใกล้เคียง Adobe RGB ไหมครับ
    แล้วเวลาส่งภาพไปตีพิมพ์ ถ้าจอเราใช้ sRGB เวลาส่งไปตีพิมพ์ด้วย Adobe RGB สีมันก็ไม่ตรงสิครับ หรือว่าสีมันไม่ถึงอยู่แล้ว ยังไงก็ต้องตรงกับจอเรา เพราะ sRGB สีมันน้อยกว่า Adobe RGB อยู่แล้ว การส่งไปตีพิมพ์จึงไม่มีผลอะไร

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เริ่มทำรูป vector ขาย

หลังจากส่งรูปถ่ายขายได้ซักระยะ ก็คิดเริ่มอยากทำรูปเวคเตอร์กับเค้าบ้าง ด้วยความที่อยากได้ตัง แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร หลังจากเริ่มอ่านที่คนอื่นเค้าทำ ก็ลองทำทันที รูปแรกที่ทำใช้เวลาไปทั้งสิ้น 12 ชม.ถ้วน เวลานั่งทำรูปอย่างเดียว 8 เวลาส่งอัพโหลด ทำความเข้าใจกติกาไปอีก 4 พอส่งเสดถึงกับถอดใจกันเรยทีเดียว หลังจากนั้นก็ไม่ได้ทำรูปเวคเตอร์อีกเรย ส่งรูปนิ่งอย่างเดียว จนวันนึงรูปเวคเตอร์กากๆรูปนั้น มันดันขายได้ เรยกลับมามองการทำรูปเวคเตอร์อีกครั้ง แต่ทีนี้เริ่มเห็นไอเดียมากขึ้น มีบลอคเซียนท่านนึงวาดรูปใน ipad แล้วexport เป็น vector ส่งขายได้เลย คราวนี้จึงกลับมาคิดใหม่ ถ้าการใช้โปรแกรม Illustrator,  photoshop มันยากไป งั้นเรามาเริ่มจากแบบเค้าบ้างละกัน แต่จะทำอย่างไร เรามีแค่iphone จะไปซื้อใหม่ก็ใช่ที่ เอาวะเริ่มจากสิ่งที่มีละกัน มีน้องไอก็วาดในน้องไอเนี่ยแหละ ลองดู เริ่มต้นจากการหา app ที่วาดและสามารถ export เป็น ไฟล์ .SVG ได้ app พวกนี้ต้องเสียตังซื้อเท่านั้น เพราะapp วาดรูปที่ฟรี จะไม่มีออปชั่นนี้ และถึงเซฟมาขนาดไฟล์ก็เป็นขนาดเล็กไม่สามรถส่งขายได้ สุดท้ายก็เลือกมา 2 app คือ Quil...

ถ่ายรูปด้วย iphone แล้วส่งขาย shutterstock

เราเคยส่งสงสัยว่า กล้อง iphone4s คุณภาพระดับ 8 Mbp คุณภาพดีกว่ากล้องดิจิตอลบางรุ่นเสียอีก ถ้าถ่ายรูปด้วยกล้องไอโฟน( iphone 4s ) แล้วส่งขาย photostock เช่น shutterstock , 123rf , fotolia เค้ารับมั้ย จะขายได้มั้ยนะจะ approved หรือถูก rejected นะ จึงทำการทดลองเล็กๆ โดยส่งภาพที่ถ่ายด้วย iphone ไปทดสอบ ดูว่าจะผ่านหรือไม่ ชุดรูปที่ถ่ายจากกล้อง iphone 4s ที่ทดลองส่ง shuttershock, 123rf, fotolia ผลจากการส่ง เป็นดังนี้ 123rf   ทดลองส่งที่ 123rf  ถูก reject ทุกภาพ โดยเหตุผลเป็นเหตุผลปกติ เช่น แสงน้อยไป องค์ประกอบไม่ดี แต่ผลการส่งจากที่ fotolia และ shutterstock  น่าสนใจกว่า Fotolia   ส่งไปโดยไม่คิดว่าจะผ่าน เพราะ123rf ก็ถูก reject มาหมดเลย แต่เพราะความอยากรู้ ไม่ผ่านก็ไม่เป็นไร แต่ผิดคาด กลับผ่านที่นี่ 1 รูป http://us.fotolia.com/id/45272488 แต่ที่น่าสนใจที่สุด คือ  Shutterstock  เรามาดูกันว่าจะผ่านมั้ยกับการทดลองนี้ :) Shutterstock  ที่นี่ลองส่งเป็นเวบสุดท้าย เพราะ มาตรฐานเป็นอีกระดับ สุดท้ายผลออกมาน่าทึ่งมาก ...